top of page

แบบจำลองอะตอมของนีลส์ โบร์

นีสส์ โบร์

 

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอะตอม โดยได้เสนอแบบจำลองอะตอมจากการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งแบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการยอมรับแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงมีผู้พยายามหาคำอธิบายเพิ่มเติม โดยในปี 1913 นีล โบร์ (Niels Bohr) นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้ทำการศึกษาการเกิดสเปกตรัมของก๊าซไฮโดรเจน และได้สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสเป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว และเรียกระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด ซึ่งมีระดับพลังงานต่ำที่สุด เรียกว่า ระดับพลังงาน K และเรียกระดับพลังงานถัดออกมาว่า ระดับพลังงาน L,M,N,…      ตามลำดับ

 

วิธีทำการทดลอง
            เขาศึกษาสเปกตรัมการเปล่งแสงของธาตุ โดยบรรจุแก๊สไฮโดรเจนในหลอดปล่อยประจุ จากนั้นให้พลังงานเข้าไป

 

ผลการทดลอง
          อิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วบวกไปขั้วลบชนกับแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นเปล่งแสงออกมาผ่านปริซึมทำให้เราเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมสีต่าง ๆ ตกบนฉากรับภาพ

 

สรุปผลการทดลอง
          การเปล่งแสงของธาตุไฮโดรเจน เกิดจากอิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงานจากวงโคจรสูงไปสู่วงโคจรต่ำ พร้อมทั้งคายพลังงานในรูปแสงสีต่างๆ
..

 

สรุปแบบจำลองอะตอมของโบร์

1.อะตอมประกอบด้วยโปรตรอน+นิวตรอนรวมกันเป็นนิวเคลียส และมีอิเล็กตรอนอยู่รอบล้อม

 

2. อิเลคตรอนจะอยู่กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า “ระดับพลังงาน” โดยระดับพลังงงานต่ำสุดชื่อชั้น K(n=1) พลังงานชั้นถัดออกไปชื่อ L(n=2)  , M(n=3) , ...

 

3. อิเลคตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเลคตรอน (Valent electron)จะเป็นอิเลคตรอน ที่เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้

 

4. อิเลคตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงในอยู่ใกล้นิวเคลียส จะเสถียรมากเพราะประจุบวกจากนิวเคลียสดึงดูดไว้อย่างดี ส่วนอิเลคตรอนระดับพลังงานวงนอกจะไม่เสถียรเพราะนิวเคลียสส่งแรงไปดึงดูดได้น้อยมาก

 

5. ระดับการพลังงานวงในจะอยู่ห่างกันมาก ส่วนระดับพลังงานวงนอกจะอยู่ชิดกันมาก

 

6. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเลคตรอน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในระดับถัดกัน อาจเปลี่ยนข้ามระดับพลังงานกันก็ได้

แบบจำลองของนีลส์ โบร์

คลื่นและสมบัติของแสง

จากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดทำให้ทราบถึงการจัดโครงสร้างของอนุภาคต่าง ๆ ในนิวเคลียส แต่ไม่ได้อธิบายว่าอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสอยู่ในลักษณะใด  นักวิทยาศาสตร์ในลำดับต่อมาได้หาวิธีทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบนิวเคลียส  วิธีหนึ่งก็คือการศึกษาสมบัติและปรากฏการณ์ของคลื่นและแสง  แล้วนำมาสร้างเป็นแบบจำลอง คลื่นชนิดต่าง ๆ เช่น  คลื่นแสง  คลื่นเสียง  มีสมบัติสำคัญ  2  ประการ  คือ  ความยาวคลื่นและความถี่ คลื่นแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่และความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน  ดังรูปต่อไปนี้

 

สเปกตรัม

 

ถ้าให้แสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงขาวส่องผ่านปริซึม  แสงขาวจากดวงอาทิตย์จะแยกออกเป็นแสงสีรุ้งต่อเนื่องกัน เรียกว่า “สเปกตรัมของแสงขาว”

สเปกตรัมของแสงขาวที่ส่องผ่านปริซึม

สเปกตรัมของแสงขาวเกิดจากการที่เมื่อแสงซึ่งมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กันผ่านไปยังปริซึม  แสงจะหักเหได้ไม่เท่ากัน  เกิดเป็นแถบสีรุ้งต่อเนื่องกัน  โดยมีความยาวคลื่นในช่วงต่าง ๆ ดังนี้

 

แสงสีม่วง 400 – 420 nm. (นาโนเมตร)

แสงสีคราม–น้ำเงิน 420 – 490 nm. (นาโนเมตร)

แสงสีเขียว 490 – 580 nm. (นาโนเมตร)

แสงสีเหลือง 580 – 590 nm. (นาโนเมตร)

แสงสีแสด (ส้ม) 590 –650 nm. (นาโนเมตร)

แสงสีแดง 650 – 700 nm. (นาโนเมตร)

 

ความยาวคลื่น  หมายถึงระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ครบ  1  รอบ  มีหน่วยเป็นเมตร (m) และนาโนเมตร (nm)

 

ความถี่ของคลื่น  หมายถึงจำนวนรอบของคลื่นที่เคลื่อนที่ผ่านจุดใดจุดหนึ่งในเวลา  1  วินาที  มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s–1)  หรือเรียกชื่อเฉพาะว่า “เฮิรตซ์” (Hz)

 

ความยาวคลื่นและความถี่  มีความสัมพันธ์กันดังนี้

 

 

 

 

 

ในปี ค.ศ. 1900  มักซ์ พลังค์ (Max Plank)  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  ได้แสดงให้เห็นว่าแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะให้พลังงานเป็นหน่วย ๆ เรียกว่า “quantum” (ควอนตัม)  และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความถี่ของคลื่นนั้นว่า “พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่น”

นปี ค.ศ. 1900  มักซ์ พลังค์ (Max Plank)  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  ได้แสดงให้เห็นว่าแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะให้พลังงานเป็นหน่วย ๆ เรียกว่า “quantum” (ควอนตัม)  และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับความถี่ของคลื่นนั้นว่า “พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของคลื่น”

 

E แปรผันตรงกับ V

E=hv        ...........(1)

 

เมื่อ                  คือพลังงาน  มีหน่วยเป็นจูล (J)

 

            h              คือค่าคงที่ของพลังค์ มีค่าเท่ากับ  6.626 x 10 ยกกำลัง -34 จูลวินาที (Js)

 

            v             คือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz)  หรือ  s–1

 

 

              แต่จาก

 

 

           V=

 

 

 

แทนค่าในสมการ (1) จะได้

 

 

E=.............(2)

 

 

c  คือความเร็วของแสงในสุญญากาศ    =   3.0 x 10 ยกกำลัง 8 m/s

 

 

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเส้นสเปกตรัมที่เกิดจากการเผาสารประกอบและธาตุบางชนิด  โดยนำสารประกอบมาเผา  แล้วสังเกตสีของเปลวไฟที่เกิดขึ้น  ส่องดูสีของเปลวไฟด้วยสเปกโตรสโคป เพื่อศึกษาสเปกตรัมที่ได้  ซึ่งสรุปได้ว่า

 

1.  สารประกอบของโลหะชนิดเดียวกันจะให้สีเปลวไฟสีเดียวกัน  และได้เส้นสเปกตรัมซึ่งเป็นแบบเฉพาะ  นั่นคือ  มีสีและตำแหน่งของเส้นสเปกตรัมเหมือนกัน ดังตัวอย่าง

 

Sr2+
Ba2+
Cu2+
K+.jpg
Li+.jpg
Na+

สารประกอบ 

 

ลิเทียม  เช่น   LiCl  ,  LiNO3  ,  Li2CO3   เปลวไฟสีแดง

 

โซเดียม  เช่น NaCl  ,  Na2SO4  ,  Na2CO3  เปลวไฟสีเหลือง

 

โพแทสเซียม  เช่น   KCl  ,  K2SO4  ,  KNO3  เปลวไฟสีม่วง

 

รูบิเดียม   เช่น  RbCl  ,  Rb2SO4  ,  RbNO3 เปลวไฟสีแดงเข้ม

 

ซีเซียม   เช่น   CsCl  ,  Cs2SO4  ,  CsNO3   เปลวไฟสีฟ้า

 

แคลเซียม   เช่น  CaCl2  ,  CaSO4  ,  Ca(NO3)2  เปลวไฟสีแดงอิฐ

 

แบเรียม  เช่น  BaCl2  ,  BaSO4  ,  Ba(NO3)2  เปลวไฟสีเขียวแกมเหลือง

 

ทองแดง   เช่น  CuCl2  ,  CuSO4  ,  Cu(NO3)2  เปลวไฟสีเขียว

 

สารประกอบของโลหะต่างชนิดกันอาจจะมีสีของสเปกตรีมคล้ายกัน  แต่จะมีตำแหน่งของเส้นสเปกตรัมต่างกันเป็นแถบเฉพาะของโลหะนั้น ๆ ดังนั้นจึงสามารถใช้สีของเปลวไฟและเส้นสเปกตรัมในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารได้  โดยนำสารประกอบนั้นไปเผา  แล้วนำสีของเปลวไฟและเส้นสเปกตรัมที่ได้เปรียบเทียบกับผลการทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ได้สรุปไว้แล้ว  การวิเคราะห์สารวิธีนี้เรียกว่า “Flame test”

 

2.  ในการเผาสารประกอบ  องค์ประกอบส่วนที่เป็นอโลหะจะให้สเปกตรัมในช่วงที่ตาเรารับไม่ได้  จึงมองไม่เห็นเส้นสเปกตรัม

 

3.  ในการศึกษาสเปกตรัมของธาตุที่เป็นแก๊สจะนำแก๊สไปบรรจุหลอดแก้วที่มีความดันต่ำ  และผ่านกระแสไฟฟ้าศักย์สูงเข้าไปแทนการเผาด้วยความร้อน  เมื่อแก๊สได้รับพลังงานไฟฟ้าจะปล่อยแสงเป็นสเปกตรัมลักษณะเฉพาะของธาตุนั้น ๆ  และธาตุอโลหะบางชนิดก็ให้แสงที่ตารับได้  เช่น  He  ,  Ne  ,  Ar  เป็นต้น

 

The Prince Royal's College

117 ถนนเเก้วนวรัฐ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

โทร. 05324-2038

เว็บ www.prc.ac.th

 

bottom of page