top of page

แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ต

ลอร์ด เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ต 

         ในปี พ.ศ. 2454 หรือ ค.ศ. 1911 ลอร์ดเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Lord Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริงหรือไม่ 

โดยตั้งสมมติฐานว่า “ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม  แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม” เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้  รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบาง ๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 10–4 cm  โดยมีฉากสารเรืองแสงรองรับ  ปรากฏผลการทดลองดังนี้

1.  อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุผ่านแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง

2.  อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง

3.  อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ

 

ถ้าแบบจำลองอะตอมของทอมสันถูกต้อง  เมื่อยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำ อนุภาคแอลฟาควรพุ่งทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดหรือเบี่ยงเบนเพียงเล็กน้อย  เพราะอนุภาคแอลฟามีประจุบวกจะเบี่ยงเบนเมื่อกระทบกับประจุบวกที่กระจายอยู่ในอะตอม  แต่แบบจำลองอะตอมของทอมสันอธิบายผลการทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ดไม่ได้  รัทเทอร์ฟอร์ดจึงเสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมาใหม่ว่า

 

“อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีโปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง  นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่มีมวลมาก  และมีประจุบวก  ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยมากวิ่งอยู่รอบ ๆนิวเคลียส”

 

การอธิบายโครงสร้างอะตอมด้วยแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

 

จากแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดสามารถอธิบายได้ว่า เมื่อผ่านอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุบวกและมวลมากให้เดินทางเป็นเส้นตรงไปยังแผ่นทองคำ อนุภาคแอลฟาส่วนมากจะเคลื่อนที่ผ่านไปยังที่ว่างซึ่งมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ แต่อิเล็กตรอนมีมวลน้อยมากจึงไม่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟา อนุภาคแอลฟาบางส่วนที่เคลื่อนที่ไปเฉียดนิวเคลียสที่มีประจุเป็นบวก ทำให้เบี่ยงเบนออกจากแนวเส้นตรง และอนุภาคที่กระทบกับนิวเคลียสซึ่งมีประจุบวกและมวลมากจึงถูกผลักให้สะท้อนกลับ การที่อนุภาคแอลฟาจำนวนน้อยมากสะท้อนกลับทำให้เชื่อว่านิวเคลียสมีขนาดเล็กมาก

แบบจำลองของรัทเทอร์ฟอร์ต

ภาพแสดงการพุ่งของอนุภาคแอลฟา

การค้นพบนิวตรอน

เซอร์ เจมส์ แชดวิก ยิงอนุภาคแอลฟาไปยัง Be ปรากฏว่าได้อนุภาคชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตอน และไม่มีประจุไฟฟ้า เรียกอนุภาคนี้ว่า นิวตรอน

สาเหตุที่ค้นพบ

 

  • เนื่องจากมวลของอะตอมต่างๆ มักจะเป็น 2 เท่า หรือมากกว่า 2 เท่าของมวลโปรตอนรวม รัทเทอร์ฟอร์ดจึงสันนิษฐานว่า น่าจะมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู๋ในนิวเคลียส และอนุภาคนี้ต้องมีมวลใกล้เคียงกับมวลของโปรตอนมากและต้องเป็นกลางทางไฟฟ้า

 

  • ทอมสันศึกษาหามวลของอนุภาคบวกของ Ne ปรากฏว่า อนุภาคบวกนี้มีมวล 2 ค่า ผลการทดลองนี้ สนับสนุนว่าจะต้องมีอนุภาคอีกชนิดหนึ่งอยู่ในนิวเคลียส

 

เซอร์ เจมส์ แซตวิก

 

อนุภาคมูลฐานของอะตอม

  • อิเล็กตรอน ผู้ค้นพบ คือ ทอมสัน

  • โปรตอน ผู้ค้นพบ คือ โกลด์ชไตน์

  • นิวตรอน ผู้ค้นพบ คือ แชดวิก

สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขอะตอม เลขมวล

1. เลขอะตอม (Z)  คือ เลขแสดงจำนวนโปรตอนของธาตุ ซึ่งไม่ซ้ำกับธาตุอื่น

 

​เลขอะตอม = โปรตอน = อิเล็กตรอน

 

2. เลขมวล (A) คือ ผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน

 

เลขมวล (A) =  p + n

 

ไอโซโทป ไอโซอิเล็กทรอนิก ไอโซโทน ไอโซบาร์

1. ไอโซโทป คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่เลขมวลต่างกัน หรือธาตุที่มีโปรตอนเท่ากัน แต่นิวตรอนต่างกัน

                    เช่น   16O8 , 17O8 , 18O8

2. ไอโซโทน คือ ธาตุที่มีนิวตรอนเท่ากันแต่โปรตอนต่างกัน

                    เช่น 13C6 กับ 14N7

3. ไอโซบาร์ คือ ธาตุที่มีเลขมวลเท่ากันแต่เลขอะตอมต่างกัน

                    เช่น  14C6 กับ 14N7

4. ไอโซอิเล็กทรอนิก คือ ธาตุหรือไอออนที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน

                    เช่น  S2- กับ Ar มีอิเล็กตรอนเท่ากับ 18   11Na+    กับ  9F- มีอิเล็กตรอนเท่ากันคือ 10

The Prince Royal's College

117 ถนนเเก้วนวรัฐ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

โทร. 05324-2038

เว็บ www.prc.ac.th

 

bottom of page